นักวิทย์จีนสร้าง “ลิงไคมีรา” จากสเต็มเซลล์ตัวแรกของโลก
นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีนเผยแพร่ผลงานวิจัยนี้ในวารสารเซลล์ (Cell) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (9 พ.ย.) โดยระบุว่า ลิงตัวนี้สร้างขึ้นจากตัวอ่อนของลิงแสมที่มีลักษณะเด่นทางพันธุกรรม 2 ตัว
โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของลิงแสมอายุ 7 วัน ผสมเข้ากับโปรตีนสีเขียวเรืองแสง เพื่อให้ทราบว่าเนื้อเยื่อส่วนไหนเติบโตมาจากสเต็มเซลล์ที่รวบรวมมาจากตัวอ่อน
รู้จัก “ตะกวดไร้หู” สิ่งมีชีวิตที่คล้ายกับ “มังกร” มากที่สุดในโลก คำพูดจาก สล็อต777 เว็บตรง
“ไวรัสเกาะไวรัส” ความสัมพันธ์ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อน
เกษตรกรออสเตรเลียถูกจระเข้กัด เอาชีวิตรอดด้วยการ “กัดจระเข้”
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ปล่อยให้ลิงมีชีวิต 10 วัน ก่อนที่จะทำการการุณยฆาต
หลิว เจิน ผู้วิจัยหลัก ระบุว่า การที่ลิงตัวนี้เกิดมาและยังมีชีวิตอยู่รอดได้มีความสำคัญอย่างมากต่อการวิจัยสเต็มเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ตระกูลไพรเมต รวมถึงมนุษย์
"กล่าวโดยเจาะจงคือ งานวิจัยนี้อาจช่วยให้เราสร้างโมเดลลิงที่แม่นยำมากกว่านี้ได้ เพื่อศึกษาโรคทางระบบประสาท การศึกษาชีวเวชศาสตร์อื่นๆ รวมถึงการทำพันธุวิศวกรรมที่แม่นยำขึ้น และการอนุรักษ์สายพันธุ์ในสัตว์ตระกูลไพรเมต"
หลังจากความสำเร็จนี้ นักวิทยาศาสตร์จะศึกษาว่า ตัวอ่อนมีชีวิตรอดระหว่างการตั้งครรภ์ได้อย่างไร และหาวิธีพัฒนาลิงไคมีราต่อไป
ไคมีรา เป็นคำที่มีที่มาจากสัตว์ประหลาดในตำนานกรีก หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์ของสัตว์ต่างชาติพันธุ์ผสมกันอยู่ในร่างเดียว
นักวิทยาศาสตร์สร้าง “หนูไคมีรา” ขึ้นมาครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 1960 และใช้ในการวิจัยด้านชีวเวชศาสตร์อย่างแพร่หลายนับตั้งแต่นั้นมา
หนูทดลองไคมีราช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ติดตามได้ว่าเซลล์ปกติมีปฏิกิริยากับเซลล์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมหรือมีการกลายพันธุ์อย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจกระบวนการทางชีววิทยาและโรค
แต่การวิจัยกับหนูก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้นักวิทยาศาสตร์มองว่าการสร้างลิงไคมีราเป็นสิ่งที่คุ้มค่า
สิ่งที่เป็นที่ถกเถียงมากกว่าคือ การสร้างไคมีราที่ผสมเซลล์ของมนุษย์และสัตว์ โดยนักวิทยาศาสตร์เคยเพาะตัวอ่อนหนูที่มีเซลล์ของมนุษย์ประกอบอยู่ 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นตัวอ่อนสัตว์ที่มีเซลล์มนุษย์ประกอบมากที่สุด ในปี 2020 ขณะที่ปีต่อมา นักวิทยาศาสตร์ก็เพาะตัวอ่อนที่มีทั้งเซลล์ของมนุษย์และลิงอยู่ในร่างเดียวกัน
นักวิทยาศาสตร์หวังว่า วันหนึ่งไคมีราที่มีเซลล์ของมนุษย์จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอวัยวะเปลี่ยนถ่ายได้ โดยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์สามารถเพาะไตที่มีเซลล์มนุษย์ประกอบอยู่เป็นส่วนใหญ่ภายในตัวอ่อนหมูได้สำเร็จ
เช็กปีชง 2567 นักษัตรไหน "ชงตรง-ชงร่วม" พร้อมแนะวันที่ควรแก้ชง
เชียร์ "แอนโทเนีย" รอบตัดสิน Miss Universe 2023 เช้า 19 พ.ย.นี้
อัปเดต! ปฏิทินวันหยุด 2567 เช็กวันหยุดราชการ-วันหยุดธนาคาร