‘ธปท.’เกาะติดหนี้ครัวเรือนเปราะบาง-รายได้ฟื้นช้า แบงก์เข้มระวังคุณภาพหนี้
น.ส.อัจจนา ล่ำซำ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตรวจสอบแบบจำลองและวิเคราะห์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หนี้ครัวเรือนไทยไตรมาส 2 ปี 66 อยู่ระดับ 90.7% ทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า แต่ต้องติดตามการชำระหนี้ครัวเรือนในกลุ่มคนเปราะบาง มีรายได้น้อย รายได้ฟื้นตัวช้า โดยไตรมาส 3 ปี 66 หนี้ด้อยคุณภาพ (เอ็นพีแอล) ปรับเพิ่มขึ้น 2,300 ล้านบาทมาอยู่ที่ 4.94 แสนล้านบาท คิดเป็น 2.7% เพิ่มจาก 2.67% โดยธนาคารพาณิชย์มีวิธีบริหารจัดการคุณภาพหนี้ต่อเนื่อง ซึ่งหนี้เอ็นพีแอลปรับเพิ่มทุกพอร์ตสินเชื่อทั้งบ้าน รถ บัตรเครดิต
ส่วนสินเชื่อความเสี่ยงตกชั้นด้อยคุณภาพ หรือเอสเอ็ม ลดลง 5 หมื่นล้านบาทในไตรมาส 3 ทำให้สัดส่วนปรับลด 5.84% จาก 6.08% ดีขึ้นจากธุรกิจและอุปโภคบริโภค แต่เอสเอ็มยังสูงเพราะพฤติกรรมการจ่ายหนี้มีจ่ายงวดเว้นงวด การผ่อนชำระนี้ทำให้เอสเอ็มอยู่ระดับสูงอยู่ โดยย้ำว่าต้องติดตามเรื่องความสามารถชำระหนี้ครัวเรือนเปราะบางรายได้น้อย และฟื้นตัวช้า จะเป็นอย่างไรให้หนี้ต่อจีดีพีเป็นอย่างไรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
สำหรับการขยายตัวของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์หดตัวติดลบ 0.9% จากไตรมาสก่อนหน้าขยายตัว 0.4% โดยเฉพาะสินเชื่อธุรกิจติดลบ 2.1% จากการชำระคืนหนี้ธุรกิจต่อเนื่อง แต่เห็นการชำระหนี้ธุรกิจช่วงที่ผ่านมา เห็นว่ามีสูงเทียบก่อนโควิด การขยายตัวสินเชื่ออุปโภคบริโภคชะลอ 1.2% จาก 1.9% แยกตามขนาดธุรกิจ ด้านเอสเอ็มอีติดลบ 5.7% และธุรกิจขนาดใหญ่ติดลบ 0.2% จากธนาคารพาณิชย์ระวังปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีใหม่
ขณะที่สินเชื่ออุปโภคบริโภค ขยายตัวชะลอลง สินเชื่อรถยนต์อยู่ต่ำ 0.8% จาก 1.6% จากธนาคารพาณิชย์ระวังปล่อยสินเชื่อจากคุณภาพสินเชื่อด้อยลง สินเชื่อบ้านจะขยายตัวชะลอ 2.4% สอดคล้องความต้องการสินเชื่อบ้านชะลอลง และต้นทุนกู้ยืมสูงขึ้น ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น มีผลในการตัดสินใจคนซื้อบ้านระดับปานกลาง
“ตราสารหนี้เติบโตได้ดี แม้ไตรมาส 3 ขยายตัวชะลออยู่ที่ 8% จากภาคธุรกิจเร่งออกตราสารหุ้นกู้ เพื่อล็อกเรตต้นทุน จากทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น และเพื่อมาชำระคืนหนี้สถาบันการเงิน สำหรับการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ปรับเพิ่มขึ้น คนได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเป็น 3.44 ล้านล้านบาท จากลูกหนี้กลุ่มแบงก์รัฐ และนอนแบงก์ ส่วนแบงก์พาณิชย์ลดลง ขณะที่บัญชีลูกหนี้ที่ได้รับความช่วยเหลือปรับเพิ่มทุกสถาบันการเงินมาอยู่ที่ 5.99 ล้านบัญชี”
น.ส.อัจจนา กล่าวว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 66 ปรับดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน เป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น แม้ต้นทุนทางการเงินปรับเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินรับฝากและค่าธรรมเนียมเอฟไอดีเอฟ หรือเงินนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินกลับสู่ระดับปกติ รวมถึงค่าใช้จ่ายดำเนินงานและค่าใช้จ่ายสำรองที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากเทียบไตรมาสก่อน กำไรสุทธิปรับลดลง จากการลดลงของรายได้เงินปันผลตามปัจจัยฤดูกาล