“คมนาคม” เนื้อหอม เยอรมนีสนลงทุนแลนด์บริดจ์ ชวนไทยโรดโชว์ดึงเอกชนร่วมลงทุน
เมื่อวันที่ 7 พ.ยคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด. ที่กระทรวงคมนาคม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า นายแอ็นสท์ ว็อล์ฟกัง ไรเชิล เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทยและคณะเข้าพบ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านคมนาคมขนส่ง โดยเยอรมนีให้ความสนใจโครงการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนาดใหญ่ประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย (แลนด์บริดจ์ หรือ Land bridge) เนื่องจากเห็นว่า เป็นโครงการที่สามารถดึงนักลงทุนเข้ามาร่วมได้ หลังจากนี้ เอกอัครราชทูตฯ จะนำเรื่องไปแจ้งให้รัฐบาลเยอรมนี ทราบถึงรายละเอียดโครงการดังกล่าว เพื่อเชิญชวนนักลงทุนเข้ามาร่วมลงทุน ในลักษณะร่วมมือกับบริษัทเดินเรือ ดังนั้นไทยจึงมีแผนจะเดินสายประชาสัมพันธ์โครงการ (โรดโชว์) ไปยังประเทศเยอรมนีด้วย
นอกจากนี้ เยอรมนียังให้ความสนใจลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เนื่องจากที่ผ่านมา นักลงทุนจากประเทศเยอรมนีได้เข้าร่วมโครงการรถไฟฟ้าก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงินของไทยอยู่แล้ว จึงให้ความสนใจที่เข้าร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกัน เยอรมนีให้ความสนใจร่วมลงทุน (PPP) อาทิ บริษัท ลุฟท์ฮันซ่า สายการบินเยอรมัน จำกัด และ บริษัท แอลเอสจี สกายเชฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด เข้ามาร่วมลงทุนการให้บริการภาคพื้นและครัวการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท มีประสบการณ์เกี่ยวกับการให้บริการภาคพื้นและครัวการบินอยู่แล้วคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
นายสุริยะ กล่าวต่อว่า ยังได้หารือถึงโครงการความร่วมมือไทย-เยอรมนี ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาส ความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งและการขนส่งอย่างยั่งยืนอีกหลายโครงการ ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีกรอบแนวทางพัฒนาด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น Green Transport เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และ PM 2.5 เน้นย้ำให้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือกในระบบการเดินทางและขนส่งทั้งในรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ เรือโดยสาร และระบบการขนส่งต่างๆ รวมทั้งการบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการจราจร
รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า ความคืบหน้าการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (EHIA) และเตรียมจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชนกลุ่มย่อยที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ จ.ชุมพร และ จ.ระนอง ช่วงเดือน ธ.ค. 66 จากนั้นจะประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 เพื่อสรุปผลการศึกษา ช่วงเดือน มี.ค. 67 จากนั้นนำความคิดเห็นมาประกอบผลการศึกษา และคาดจะสรุปผลการศึกษาเสร็จสมบูรณ์ทั้งโครงการช่วงปลายปี 67
ขณะเดียวกันกระทรวงคมนาคมมีแผนโรดโชว์โครงการแลนด์บริดจ์ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตั้งแต่เดือน พ.ย. 66-เดือน ม.ค. 67 ไม่ว่าจะเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดูไบ ซาอุดีอาระเบีย ประเทศกลุ่มยุโปร อาทิ เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศในกลุ่มเชียตะวันออก อาทิ จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยประเทศต่างๆ เป็นประเทศที่มีเงินทุน มีเทคโนโลยี และผู้ประกอบการสายการเดินเรือขนาดใหญ่ ในการเข้ามาร่วมลงทุนและบริหารจัดการสายการเดินเรือ-ท่าเรือ รวมทั้งมีบางประเทศ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่พยายามทำรูปแบบธุรกิจ โดยนำเงินจากธุรกิจน้ำมันมาลงทุนในธุรกิจอื่นๆ
หลังจากโรดโชว์เสร็จแล้ว กำหนดให้เอกชนยื่นข้อเสนอเดือน เม.ย.-มิ.ย. 68 จากนั้นจะเสนอ ครม. เห็นชอบรายชื่อผู้ชนะการประมูลในโครงการภายในเดือน ส.ค. 68 และให้เอกชนที่ชนะการประมูลเริ่มก่อสร้างในเดือน ก.ย. 68 โดยโครงการนี้ จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 5 ปี และคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือน ต.ค. 73
สำหรับผลการศึกษาโครงการแลนด์บริดจ์ เบื้องต้นจะใช้วงเงินรวมกว่า 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น โครงการท่าเรือฝั่งชุมพร 3 แสนล้านบาท,โครงการท่าเรือฝั่งระนอง 3.3 แสนล้านบาท,โครงการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้า (SRTO)รวม 1.4 แสนล้านบาท และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางเชื่อมโยงท่าเรือ วงเงินราว 2.2 แสนล้านบาท